วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พระวิษณุกรรม






วันนี้มีของมาอวดเหล่าช่างศิลป์ทั้งหลายผู้ทำมาหากินเกี่ยวกับงานช่างฝีมือ


งานศิลปะและช่างทั่วไปอื่นอีกมากมาย

เป็นเหรียญพระวิษณุกรรมครับผม ของโรงเรียนเพาะช่าง ผมมี2เหรียญครับ

คือเหรียญเงินที่แขวนประจำกับเหรียญทองแดงที่เก็บไว้อย่างดี

ด้านหลังบรรจุผงทองคำเปลวที่ลอกออกมาจากพระวิษณุกรรมองค์ใหญ่

หน้าโรงเรียนเพาะช่างครับ

*********


พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า

พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม

เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์

ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น

และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา
พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์

เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย

เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์

นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ

จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง

หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย

โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน

โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ

ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้)

และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา

มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก
ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้

พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง

มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้าง

มาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ

วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต

คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ

ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ

หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย

มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง

อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ

คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม'

และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ'

ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน ๓ เทพสำคัญของศาสนาฮินดู

อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ

ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม

ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ในพระไตรปิฎก(อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์

(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก

เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว

ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร

ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

(หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)
นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ

ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว

พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย

กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์

ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป

ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า

เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพาน

และอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้

"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต

สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์"

หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น

พระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์


งานอื่นๆของผมก็คลิ๊กข้างล่างเลยครับ





........